ปัญหาที่พบในการคัดเลือกคนเข้าทำงานของManager

ปัญหาที่พบในการคัดเลือกคนเข้าทำงานของManager

Image result for problem



1.Manager ขาดข้อมูลที่สำคัญ

Managerมุ่งเน้นประเด็นที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของงานเพียงไม่กี่ประเด็น 

และ มองข้ามประเด็นอื่นๆ ดังนั้นจึงไม่สามารถเห็นภาพรวมที่แท้จริงของผู้สมัคร

2.Managerมองข้ามความจูงใจในงานและความเหมาะสมต่อองค์กร

Managerมักจะเน้นแต่ทักษะที่เกี่ยวข้องกับงานและมองข้ามความชอบหรือไม่ชอบในการทำงานของ

ผู้สมัคร ความล้มเหลวในการค้นหาแรงจูงใจอาจนำไปสู่ผลงานที่ไม่น่าพึงพอใจและการลาออก

3.Managerถามคำถามซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับงานหรือหมิ่นประมาท

คำถามเหล่านี้ อาจทำให้องค์กรถูกฟ้องร้องและทำให้ผู้สมัครงานบางคนบางกลุ่มไม่ได้รับความเป็นธรรม

4.Managerถามคำถามซ้ำซ้อน

แม้ว่าบางกรณีคำถามซ้ำซ้อนจากผู้สัมภาษณ์หลายคนอาจเป็นเรื่องดี 

แต่หากมากเกินไปก็อาจทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ขณะเดียวกันผู้สมัครก็ต้องฟังคำถามซ้ำซาก

และประเด็นสำคัญบางประเด็นก็อาจไม่ได้รับการพิจารณาถึง

5.Managerไม่จัดระบบขององค์ประกอบในการคัดเลือก

สิ่งที่ทำให้ผู้สัมภาษณ์ต้องเสียเวลากับผู้สมัครที่ไม่สมควรผ่านเข้ามาในขั้นตอนการคัดเลือก

นอกจากนี้การใช้องค์ประกอบการคัดเลือกที่แตกต่างกันกับผู้สมัคร จะทำให้ผู้สมัครบางคนเสียเปรียบ

6.ผู้สมัครไม่สนใจ/ปฏิเสธงาน

หากผู้สัมภาษณ์เป็นฝ่ายพูดมากเกินไป ไร้สาระหยาบคาย หรือ วกวน อาจทำให้ผู้สมัครปฏิเสธงาน

ที่ได้รับการเสนอและมองหางานที่อื่น ขณะเดียวกันก็อาจทำให้องค์กรของท่านเสียชื่อเสียงได้

7.อคติและลักษณะเฉพาะบางอย่างมีผลกระทบต่อการตัดสินใจ

ผู้สัมภาษณ์บางคนชอบมองคนอื่นด้านเดียว เช่น มองว่าเป็น พวกหุ่นยนต์ พวกสอบตก เป็นต้น

เนื่องจากผู้สัมภาษณ์มักไม่ระวังถึงแนวโน้มของอคติเหล่านี้ จึงทำให้ไม่ทราบถึงผลกระทบ

ที่มีต่อการตัดสินใจคัดเลือกคนเข้าทำงาน

8.Managerไม่จดบันทึกให้ครบถ้วน

ผู้สัมภาษณ์หลายคนมักไม่ได้จดประเด็นสำคัญๆที่ได้จากการสัมภาษณ์ และมักคิดว่าตัวเองมีความจำดี

แต่ในที่สุดก็อาจผิดพลาดได้ การสัมภาษณ์ที่ขาดการจดบันทึกที่ดี 

อาจจะทำให้ผู้เข้าสอบสัมภาษณ์คนแรกและคนสุดท้ายได้เปรียบ 

เพียงเพราะผู้สัมภาษณ์จะจำเขาได้ดีกว่าคนอื่นๆ

9.Managerตีความข้อมูลที่ได้จากผู้สมัครผิดพลาด

Managerมักตีความข้อมูลที่ได้จากผู้สมัครไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะในเวลาที่ผู้สัมภาษณ์พยายามทำตัวเป็น

"นักจิตวิทยาสมัครเล่น"และตีความหมายที่แฝงอยู่จากคำตอบของผู้สมัคร 

สิ่งนี้ทำให้ผู้สัมภาษณ์ได้ภาพลักษณะอุปนิสัยของผู้สมัครที่ไม่ตรงกับความจริง

10.Managerตัดสินใจอย่างรวบรัดเกี่ยวกับผู้สมัคร

การตัดสินใจตกลงว่าจ้างอาจเกิดเพียงเพราะว่าได้ทักทายด้วยการจับมือกันในครั้งแรกที่พบ

หรือบางครั้งก็หลังจากพูดคุยกันไม่กี่คำ ปัญหาก็คือ การตัดสินใจที่เร็วเกินไปมีผลกระทบต่อการเก็บ

รวบรวมข้อมูลในภายหลัง ซึ่งทำให้ผู้สัมภาษณ์พยายามถามคำถามเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของตนเอง

ที่คิดไว้ก่อนแล้ว 

11.องค์กรให้ความสำคัญกับการสอบสัมภาษณ์เพียงอย่างเดียว

การสอบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยมของระบบการคัดเลือกบุคลากร อย่างไรก็ดี 

ผู้สัมภาษณ์ยังสามารถได้ข้อมูลสำคัญอื่นๆ จากแหล่งต่างๆได้อีก เช่น 

การสอบข้อเขียน,การทดสอบจากสถานการณ์จำลอง และ ตรวจสอบจากบุคคลอ้างอิง

12.การหารือเพื่อตกลงว่าจ้างของกลุ่มManagerทำอย่างไม่เป็นระบบ

Managerที่มาพบกันเพืื่อตัดสินใจขั้นสุดท้ายในการว่าจ้าง อาจแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน

ของผู้สมัครอย่างคร่าวๆ เช่น เขาดูฉลาด,เธอดูไม่มีประสบการณ์ เป็นต้น

ข้อมูลสำคัญสำหรับการตัดสินใจอาจขาดหายไป ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ อาจถูกมองข้าม

และช่องว่างของข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้สมัครอาจไม่ถูกค้นพบ

13.Managerปล่อยให้ลักษณะเฉพาะบางอย่างมีผลต่อการตัดสินใจ


บางครั้งManagerก็มักมองอะไรด้านเดียว และปล่อยให้ลักษณะเด่นหรือลักษณะด้อยเพียงบางจุด

ของผู้สมัครสร้างผลต่อการตัดสินใจและคิดว่าสิ่งนั้นคือ ลักษณะโดยรวมทั้งหมดของผู้สมัคร

14.แรงกดดันที่ต้องรีบบรรจุตำแหน่งงานที่ว่าง มีผลกระทบต่อการตัดสินใจ

มาตราฐานการคัดเลือกอาจลดลง และ ผู้สัมภาษณ์คิดเพียงแค่ว่ารับพนักงานเข้ามาก่อน

แล้วค่อยให้การฝึกอบรมและการชี้แนะต่างๆ อย่างใกล้ชิดในภายหลัง 

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอาจไม่สามารถทำเช่นนั้นได้



แล้วManagerทั้งหลายละครับ พบปัญหาแบบไหนบ้าง ผมเชื่อว่าทุกท่านต้องเคยเจอปัญหาอย่างน้อย 

1-2 ข้อที่Listมา

แก้ปัญหาเหล่านี้ยังไงดี มาตามต่อในบทความต่อไปกันครับ 

เรียบเรียง

ภก.ภูริทัต ว่องพุฒิพงศ์

บจก.Pharmconnection 












ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีโครงสร้างการเล่าเรื่อง (Storytelling)

น้องตูน MSL

ตัวอย่าง Cover Letter ที่ถูกต้อง